นักศึกษาแพทย์ ไม่ใช่ผู้ที่เรียนอย่างสบายๆ ในท่ามกลางความงดงามของวัย ความสนุกและสดใสของช่วงชีวิตของพวกเขา ถูกกำหนดให้ประกอบไปด้วยความรับผิดชอบหลากหลาย แต่พวกเขาก็คงจะชินและเรียนรู้ไปอย่างสร้างสรรค์ เรียนรู้ที่จะมีความรับผิดชอบ และเสียสละอย่างสูงในวันข้างหน้า ต่อชีวิตของผู้คนที่เจ็บป่วยหวังพึ่งหมอ และก็ยังต้องทำกิจกรรมอื่นอีกมากมายเหมือนนักศึกษาคณะอื่นๆ นอกเหนือจากการคร่ำเคร่งการเรียน
คนที่เรียนวิชาชีพแพทย์ต้องอยู่กับสิ่งไม่น่าพิสมัยไม่สวยงาม
แต่อยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปอย่างชัดเจนต่อหน้าต่อตา จึงจำเป็นต้องอาศัยความมุ่งมั่น สร้างแรงบันดาลใจ และมีเป้าหมายที่ชัดเจน จึงจะอยู่กับมันได้อย่างมีความสุขและไม่รู้สึกว่าหนักจนเกินไป การสอบก็มีครั้งแล้วครั้งเล่าหลังการเรียน และการสอบหนึ่งที่สำคัญของนักศึกษาแพทย์ก็คือการสอบที่จัดโดยแพทยสภา เพื่อให้พวกเขาได้เติบโตอย่างสมศักดิ์ศรีและสง่างามในวิชาชีพ นั่นคือการสอบ NL
NL หรือการสอบ National
Lisense ของนักศึกษาแพทย์คืออะไร NL ก็คือใบประกอบวิชาชีพของหมอการ ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นของแพทยสภา
ประกอบด้วยการรสอบ 3 ขั้นตอนแต่ละขั้นตอนมีจุดประสงค์ดังนี้
ขั้นตอนที่
1 เป็นการสอบเพื่อประเมินความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน (Basic
Medical Sciences) ความรู้ pre-clinic ข้อสอบพรีคลีนิค
มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเบื้องต้นทางการแพทย์ (สอบหลังจบชั้นปีที่ 3
- เป็นขั้นที่ยากที่สุดในจำนวน 3 ขั้น) ถ้าสอบไม่ผ่านก็สอบใหม่
มีสอบปีละ 2 รอบ เดือนมีนาคมและเดือนตุลาคม
ขั้นตอนที่ 2 เป็นการสอบเพื่อประเมินความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (Clinical Sciences) สอบเรื่องความรู้ทางคลีนิค โดยรวมทุกภาควิชา เช่น สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา,อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, กุมารเวชศาสตร์, และอื่นๆ (สอบหลังจบชั้นปีที่ 5)
ขั้นตอนที่ 2 เป็นการสอบเพื่อประเมินความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (Clinical Sciences) สอบเรื่องความรู้ทางคลีนิค โดยรวมทุกภาควิชา เช่น สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา,อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, กุมารเวชศาสตร์, และอื่นๆ (สอบหลังจบชั้นปีที่ 5)
ขั้นตอนที่ 3 เป็นการสอบเพื่อประเมินทักษะและหัตถการทางคลินิก
(Objective Structured Clinical Examination : OSCE) เป็นการสอบภาคปฏิบัติกับคนไข้จำลอง
โดยทดสอบทักษะและหัตถการชั้นคลีนิค (สอบหลังจบชั้นปีที่ 6)
การที่จะสอบ ขั้นที่ 3 ได้ต้องผ่านขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 เสียก่อน แต่ถ้าพลาดสอบขั้นที่ 1 ไม่ผ่าน ก็ยังสามารถสอบขั้นที่ 2 ได้
(ยังขึ้นไปเรียนปี 4 ได้) ที่สำคัญที่สุดคือ
ต้องสอบผ่านทั้ง 3 ขั้นถึงจะได้ใบประกอบโรคศิลป์
แพทย์จึงเป็นวิชาชีพชั้นสูง เป็นที่พึ่งของมนุษย์ทุกคนที่ต้องเดินทางเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฐ มนุษยมีเกิด มีแก่ มีเจ็บ และมีตายทุกเวลา เกิดมาเพื่อประกอบกรรมดี สะสมกรรมดีให้มากที่สุด เมื่อใช้ชีวิตอยู่ในร่างกายคน เมื่อป่วยเจ็บก็ต้องถึงเวลาซ่อมแซม ก่อนที่จะจากวัฏสงสารนี้ไป แพทย์คือที่พึ่งของการรักษาและซ่อมแซมร่างกายของคน ให้อยู่ได้เพื่อประกอบกรรมดีต่อๆ ไป
ภาพจาก https://pixta.jp/tags
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น